วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
How to play : บอร์ดเกม Agricola
ของในกล่อง รวมแล้วประมาณ 2.5 กิโลได้มั้ง
***ใครที่อยากอ่านแค่ความเห็น ให้ข้ามไปอ่านตั้งแต่หัวข้อ “ความเป็นมา” ลงไปได้เลย
Designer : Uwe Rosenberg
Player: 1-5
What’s the game all about?
ในเกมนี้เรารับบทเป็นชาวนาต้องการที่จะทำฟาร์ม ในระหว่างเกมส์ เราจะทำการขยายบ้านเพิ่มห้อง เกิดลูก ปรับปรุงบ้านจากบ้านไม้เป็นบ้านดินเหนียวและเป็นบ้านหิน ไถนาเพื่อเตรียมปลูกข้าวปลูกผัก ล้อมรั้วเพื่อเลี้ยง แกะ หมูป่า วัว และสร้างคอกสัตว์ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งเราต้องหยายามหาอาหารมาเลี้ยงครอบครัวให้ได้ เกมจบใครได้แต้มเยอะกว่าชนะ ฟาร์มยิ่งสมบูรณ์มีความหลากหลาย แต้มยิ่งเยอะ
ตอนเล่นจะเห็นว่าใช้พื้นที่ค่อนข้างเยอะ
Game Mechanic
เราจะมี Token ไปวางช่อง Action Space พอลงไปวางแล้วก็ทำตามที่มันเขียนในช่องนั้น โดยช่องที่มีคนลงไปแล้วห้ามคนอื่นลงอีก
จบแล้วครับ Core Mechanic ของ Agricola ง่ายๆ Plain & Simple
วิธีการเล่นคร่าวๆคือ แต่ละคนจะมี บอร์ดของตัวเอง เปรียบเสมือนที่ดินของแต่ละคน แล้วจะมี Board กลางอยู่ขอเรียกว่า Action Space Board แล้วกัน ตรงนี้คือที่ๆเราจะเอาตัวคนของเราไปวางเพื่อทำ Action ต่างๆ แล้วก็ยังมี Board ของ Major Improvement ซึ่งเป็นการ์ดที่เราซื้อมาเพื่อทำให้เราสามารถดำรงค์ชีวิตได้ง่ายขึ้น เช่น เมื่อซื้อแล้วเราจะสามารถเปลี่ยนสัตว์เป็นอาหารได้ สามารถทำขนมปังได้ หรือ แม้กระทั่งซื้อเพื่อเอา victory point ในตอนจบ
ก่อนเริ่มเกมจะแจกไพ่คนละ 14 ใบเรียกว่า occupation & minor improvement อย่างละ 7 ใบซึ่งจะเป็นตัวช่วยสำหรับเราคนเดียว แต่ว่าการจะเรียกลงมาใช้นั้นก็จะมีค่าใช้จ่ายตามที่ไพ่ระบุไว้ รวมทั้งไพ่บางใบจะมี bonus point ในการลงเล่นด้วย [การ์ด occupation & minor improvement มีสามระดับคือ E,I,K ขึ้นอยู่กับจะเล่นที่ความซับซ้อนขนาดไหน แต่ละเกมจะใช้กองใดกองหนึ่ง ไม่ควรเอามาปนกัน]
Agricola เป็นเกมส์ที่เน้นให้เราทำหลายอย่าง เพื่อให้ได้ Score ที่สูง ดังนั้นเราไม่สามารถพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งให้ดีสุดๆเพื่อหวังให้ได้แต้มเยอะๆ Agricola เป็นเกมเน้นหลากหลาย ดังนั้นเวลาเล่นให้พยายามมีอย่างละนิดอย่างละหน่อย เช่น มีแพะ1 ตัว และ หมูป่า 1 ตัว ได้คะแนนเยอะกว่า มี วัว 2 ตัว เป็นต้น
การเล่นจะเล่นเป็น Round โดยทั้งหมดจะมี 14 Round แต่ละ Round จะมีการเพิ่ม Action Space ใหม่ๆ ผู้เล่นแต่ละคนผลัดกันวางคนงานลงใน Action Space ต่างๆ จนจบ Round ก็เก็บตัวกลับแล้วก็เริ่ม Round ใหม่
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ จะมีเฟสที่เรียกว่า Harvest Phase ซึ่งจะเกิด 3 อย่างแต่ที่สำคัญที่สุดคืือ เราต้องหาอาหารมาให้คนของเรา 1 ตัวต่อข้่าว 2 จาน ยกเว้นเด็กเกิดใหม่กินจานเดียว
ข้าวแต่ละจานที่หาไม่ได้จะติดลบสามแต้ม (ใหญ่มาในเกมนี้) พอเล่นจบ 14 Round รวม Harvest Phaseสุดท้ายก็นับแต้ม ใครแต้มมากที่สุดชนะ ถ้าเท่ากันชนะทั้งคู่
Scoring Map ในรูปจะเห็นว่า การมีแกะและหมูอย่างละตัวได้ 2 แต้มแต่ไม่มีวัว -1 แต้ม ดังนั้นมีแต้มรวม -1 ในทางกลับกันมีวัว 2 ตัวได้ 2 แต้มแต่ไม่มีแกะและหมูเลยจะ -2 แต้ม ดังนั้นจะมีแต้มรวม 0 แต้ม
ตัวอย่าง Action Space
Resource ในเกม สำหรับก่อสร้าง: ไม้ ดินเหนียว หิน ฟาง สำหรับเพาะปลูก: เมล็ดข้าว ผัก สัตว์:แกะ หมูป่า วัว และ อาหาร
ตัวอย่าง Major Improvement
ตัวอย่าง Occupation
ตัวอย่าง Minor Improvement
ความเป็นมา
ผมตั้งใจจะซื้อ Agricola มาหลายครั้งแล้วแต่ทุกครั้งก็ตัดสินใจไม่ซื้อ เพราะว่ามันเป็นเกมเกี่ยวกับการทำฟาร์ม ทุกครั้งที่คิดว่ามันอยู่อันดับหนึ่งของ Boardgamegeek ก็จะอยากซื้อมาลิ้มลอง แต่พอมานึกถึง Theme ของเกมที่เป็นชาวนา ผมก็หมดอารมณ์อยากเล่นทุกที เพราะผมชอบแนว อัศวินยุคกลางมากกว่า ประกอบกับราคาที่ค่อนข้างสูง (สำหรับผม) แต่คนคำนวณไหนเล่าจะสู้ลิขิตฟ้า ดั้นไปเจอกล่องตัวเป็นๆวางอยู่บน Shelf บวกกับยังรอ Puerto Rico ที่ยังอยู่ในเรือทำให้ไม่มีเกมส์ลึกๆเล่นเลยสอยมาแบบงงๆ
ความประทับใจเมื่อเปิดกล่อง
บอกตามตรง หมดอารมณ์ เปิดมา มีไม้ใส่ถุงซิบล๊อคมาเต็มไปหมด ไพ่อีกประมาณสามชุด แล้วก็แผ่น Cardboard ต่าง รวมถึง Rule Book มันช่างกองกันอยู่เหมือนสักแต่ใส่ๆมา มันต่างกับสองเกมที่ผมซื้อมาก่อนหน้านี้นัก นั่นคือ Memoir’s 44 & Ticket to Ride: The Card Game สองเกมนี้เปิดกล่องออกมาจะเจอ พลาสติกเป็นหลุมๆใส่คอมโพเน้นมาอย่างดี ดูแล้วสวยงาม ดูแล้วน่ามอง
หลังจากนั่งไว้อาลัยซักพักก็หยิบกฏขึ้นมาอ่าน Font บวกกับ Tone สีของ Background ทำให้รู้สึกว่าตัวมันเล็กอ่านยาก ภาพก็ไม่ค่อยสวย ยิ่งหน้าหลังๆที่เป็น Appendix นี่น่าจะให้แว่นขยายมาด้วย พอทนอ่านจบ ก็ลองเล่นกันเลย
Family Game
เมื่อจัดทุกอย่างลงตัวก็ตัดสินใจเริ่มกันที่ Family Board กันเลยเพราะว่าไม่ใช้การ์ด minor improvement & occupation หลังจากเล่นจบไปเกมนึง ก็รู้ทันทีเลยว่าผมชอบเกมนี้ ความรู้สึกที่ว่าไม่อยากเล่นเกมชาวนาหายไปเลย เหลืออยู่แต่ความเพลิดเพลินกับการดูฟาร์มของที่เราค่อยๆสร้างขึ้นมา กฎที่ดูเหมือนยากตอนอ่าน เล่นแล้วเข้าใจง่าย เพราะ Theme กับกฎเข้ากันได้อย่างดี
ความรู้สึกตอนเล่นคือหัวจะปั่นอยู่ตลอดเวลาว่าจะทำ Action อะไรดี อะไรก่อนอะไรหลังเนื่องจากคนอื่นสามารถมาแย่ง Action ที่เราเล็งอยู่ได้ดังนั้น Prioritization สำคัญมากๆ นอกจากนี้ยังมีอารมณ์ชิบหายแล้วสงสัยข้าวจะไม่พอมาป้อนคน ทำไงดี_ะเนี่ย สงสัยต้องเชือดแกะ ว่าจะเก็บไว้ให้ออกลูกซักหน่อย หรือ แม่_เอ้ย กินดินเหนียวไปก่อนแล้วกันว่าจะเอาไว้สร้างห้องเพิ่มซะหน่อย ว้าตอนนั้นน่าจะกั้นรั้วอีกแบบนึง ว้าน่าจะพรวนดินก่อน จะเกิดลูกดีมั้ยน้ากลัวหาข้าวให้มันไม่พอ ... etc.
นั่นคือความรู้สึกที่ได้จาก Base Game ครับ ยังไม่มีการ์ด minor improvement และ occupation มาเกี่ยวเลย
Play with Cards
แน่นอนผมเริ่มจาก E-Deck พอแกะการ์ดออกมารู้สึกได้ว่าการ์ดสวยดีชอบ Artwork แต่ไม่ชอบพื้นเหลืองซักเท่าไหร่ น่าจะทำการ์ด minor improvement กับ occupation ให้สีพื้นมันต่างกันกว่านี้หน่อย
ความรู้สึกเหมือนตอนเล่น Family แต่เพิ่มความมันส์ และความหลากหลายด้วยความสามารถของ minor improvement และ occupation นับร้อย ทำให้เกิดคอมโบทำฟาร์ม และแต่ละเกม unique เนื่องจากหน้าไพ่ที่ขึ้นมือต่างกัน
ครั้งแรกที่เล่นถึงกับมึนเนื่องจากมีการ์ดในมือ 14 ใบใช้ไม่ถูกเนื่องจากไม่รู้จะใช้ตอนไหนดี ยิ่งใช้ฟาร์มยิ่งเละเทะ อย่างไรก็ตามระหว่างที่เล่นจนกระทั่งเล่นจบความคิดที่ดังที่สุดในหัวคือ “แม่_เอ้ยคุ้มสั_ๆ น่าจะซื้อมาตั้งนานแล้ว นี่ขนาดเล่นแค่ E-Deck 2 คนนะเนี่ย แล้วแบบ 3-4-5 อีกล่ะ ไหนจะ I & K Deck อีก โอย คุ้มจริงๆ สงสัยเกมนี้จะเล่นได้ทั้งปีมั้งเนี่ย” แต่ใจนึงก็กลัวเล็กๆว่า I&K มันจะสนุกรึป่าวหว่า หรือ ว่ามันมีมางั้นๆให้เป็นปริมาณเยอะ แต่ไม่มีคุณภาพ
หลังจากได้ลองเล่น I-Deck บอกได้คำเดียวว่ามันไม่ได้ให้มาแต่ปริมาณ คุณภาพมันมาด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)