วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

How to play : บอร์ดเกม Agricola



ของในกล่อง รวมแล้วประมาณ 2.5 กิโลได้มั้ง



***ใครที่อยากอ่านแค่ความเห็น ให้ข้ามไปอ่านตั้งแต่หัวข้อ “ความเป็นมา” ลงไปได้เลย

Designer : Uwe Rosenberg
Player: 1-5

What’s the game all about?

ในเกมนี้เรารับบทเป็นชาวนาต้องการที่จะทำฟาร์ม ในระหว่างเกมส์ เราจะทำการขยายบ้านเพิ่มห้อง เกิดลูก ปรับปรุงบ้านจากบ้านไม้เป็นบ้านดินเหนียวและเป็นบ้านหิน ไถนาเพื่อเตรียมปลูกข้าวปลูกผัก ล้อมรั้วเพื่อเลี้ยง แกะ หมูป่า วัว และสร้างคอกสัตว์ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งเราต้องหยายามหาอาหารมาเลี้ยงครอบครัวให้ได้ เกมจบใครได้แต้มเยอะกว่าชนะ ฟาร์มยิ่งสมบูรณ์มีความหลากหลาย แต้มยิ่งเยอะ

ตอนเล่นจะเห็นว่าใช้พื้นที่ค่อนข้างเยอะ




Game Mechanic

เราจะมี Token ไปวางช่อง Action Space พอลงไปวางแล้วก็ทำตามที่มันเขียนในช่องนั้น โดยช่องที่มีคนลงไปแล้วห้ามคนอื่นลงอีก 

จบแล้วครับ Core Mechanic ของ Agricola ง่ายๆ Plain & Simple 

วิธีการเล่นคร่าวๆคือ แต่ละคนจะมี บอร์ดของตัวเอง เปรียบเสมือนที่ดินของแต่ละคน แล้วจะมี Board กลางอยู่ขอเรียกว่า Action Space Board แล้วกัน ตรงนี้คือที่ๆเราจะเอาตัวคนของเราไปวางเพื่อทำ Action ต่างๆ แล้วก็ยังมี Board ของ Major Improvement ซึ่งเป็นการ์ดที่เราซื้อมาเพื่อทำให้เราสามารถดำรงค์ชีวิตได้ง่ายขึ้น เช่น เมื่อซื้อแล้วเราจะสามารถเปลี่ยนสัตว์เป็นอาหารได้ สามารถทำขนมปังได้ หรือ แม้กระทั่งซื้อเพื่อเอา victory point ในตอนจบ

ก่อนเริ่มเกมจะแจกไพ่คนละ 14 ใบเรียกว่า occupation & minor improvement อย่างละ 7 ใบซึ่งจะเป็นตัวช่วยสำหรับเราคนเดียว แต่ว่าการจะเรียกลงมาใช้นั้นก็จะมีค่าใช้จ่ายตามที่ไพ่ระบุไว้ รวมทั้งไพ่บางใบจะมี bonus point ในการลงเล่นด้วย [การ์ด occupation & minor improvement มีสามระดับคือ E,I,K ขึ้นอยู่กับจะเล่นที่ความซับซ้อนขนาดไหน แต่ละเกมจะใช้กองใดกองหนึ่ง ไม่ควรเอามาปนกัน]

Agricola เป็นเกมส์ที่เน้นให้เราทำหลายอย่าง เพื่อให้ได้ Score ที่สูง ดังนั้นเราไม่สามารถพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งให้ดีสุดๆเพื่อหวังให้ได้แต้มเยอะๆ Agricola เป็นเกมเน้นหลากหลาย ดังนั้นเวลาเล่นให้พยายามมีอย่างละนิดอย่างละหน่อย เช่น มีแพะ1 ตัว และ หมูป่า 1 ตัว ได้คะแนนเยอะกว่า มี วัว 2 ตัว เป็นต้น

การเล่นจะเล่นเป็น Round โดยทั้งหมดจะมี 14 Round แต่ละ Round จะมีการเพิ่ม Action Space ใหม่ๆ ผู้เล่นแต่ละคนผลัดกันวางคนงานลงใน Action Space ต่างๆ จนจบ Round ก็เก็บตัวกลับแล้วก็เริ่ม Round ใหม่ 

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ จะมีเฟสที่เรียกว่า Harvest Phase ซึ่งจะเกิด 3 อย่างแต่ที่สำคัญที่สุดคืือ เราต้องหาอาหารมาให้คนของเรา 1 ตัวต่อข้่าว 2 จาน ยกเว้นเด็กเกิดใหม่กินจานเดียว

ข้าวแต่ละจานที่หาไม่ได้จะติดลบสามแต้ม (ใหญ่มาในเกมนี้) พอเล่นจบ 14 Round รวม Harvest Phaseสุดท้ายก็นับแต้ม ใครแต้มมากที่สุดชนะ ถ้าเท่ากันชนะทั้งคู่

Scoring Map ในรูปจะเห็นว่า การมีแกะและหมูอย่างละตัวได้ 2 แต้มแต่ไม่มีวัว -1 แต้ม   ดังนั้นมีแต้มรวม -1 ในทางกลับกันมีวัว 2 ตัวได้ 2 แต้มแต่ไม่มีแกะและหมูเลยจะ -2 แต้ม ดังนั้นจะมีแต้มรวม 0 แต้ม



ตัวอย่าง Action Space



Resource ในเกม สำหรับก่อสร้าง: ไม้ ดินเหนียว หิน ฟาง สำหรับเพาะปลูก: เมล็ดข้าว ผัก สัตว์:แกะ หมูป่า วัว และ อาหาร



ตัวอย่าง Major Improvement



ตัวอย่าง Occupation


ตัวอย่าง Minor Improvement



ความเป็นมา

ผมตั้งใจจะซื้อ Agricola มาหลายครั้งแล้วแต่ทุกครั้งก็ตัดสินใจไม่ซื้อ เพราะว่ามันเป็นเกมเกี่ยวกับการทำฟาร์ม ทุกครั้งที่คิดว่ามันอยู่อันดับหนึ่งของ Boardgamegeek ก็จะอยากซื้อมาลิ้มลอง แต่พอมานึกถึง Theme ของเกมที่เป็นชาวนา ผมก็หมดอารมณ์อยากเล่นทุกที เพราะผมชอบแนว อัศวินยุคกลางมากกว่า ประกอบกับราคาที่ค่อนข้างสูง (สำหรับผม) แต่คนคำนวณไหนเล่าจะสู้ลิขิตฟ้า ดั้นไปเจอกล่องตัวเป็นๆวางอยู่บน Shelf บวกกับยังรอ Puerto Rico ที่ยังอยู่ในเรือทำให้ไม่มีเกมส์ลึกๆเล่นเลยสอยมาแบบงงๆ 

ความประทับใจเมื่อเปิดกล่อง

บอกตามตรง หมดอารมณ์ เปิดมา มีไม้ใส่ถุงซิบล๊อคมาเต็มไปหมด ไพ่อีกประมาณสามชุด แล้วก็แผ่น Cardboard ต่าง รวมถึง Rule Book มันช่างกองกันอยู่เหมือนสักแต่ใส่ๆมา มันต่างกับสองเกมที่ผมซื้อมาก่อนหน้านี้นัก นั่นคือ Memoir’s 44 & Ticket to Ride: The Card Game สองเกมนี้เปิดกล่องออกมาจะเจอ พลาสติกเป็นหลุมๆใส่คอมโพเน้นมาอย่างดี ดูแล้วสวยงาม ดูแล้วน่ามอง 

หลังจากนั่งไว้อาลัยซักพักก็หยิบกฏขึ้นมาอ่าน Font บวกกับ Tone สีของ Background ทำให้รู้สึกว่าตัวมันเล็กอ่านยาก ภาพก็ไม่ค่อยสวย ยิ่งหน้าหลังๆที่เป็น Appendix นี่น่าจะให้แว่นขยายมาด้วย พอทนอ่านจบ ก็ลองเล่นกันเลย

Family Game

เมื่อจัดทุกอย่างลงตัวก็ตัดสินใจเริ่มกันที่ Family Board กันเลยเพราะว่าไม่ใช้การ์ด minor improvement & occupation หลังจากเล่นจบไปเกมนึง ก็รู้ทันทีเลยว่าผมชอบเกมนี้ ความรู้สึกที่ว่าไม่อยากเล่นเกมชาวนาหายไปเลย เหลืออยู่แต่ความเพลิดเพลินกับการดูฟาร์มของที่เราค่อยๆสร้างขึ้นมา กฎที่ดูเหมือนยากตอนอ่าน เล่นแล้วเข้าใจง่าย เพราะ Theme กับกฎเข้ากันได้อย่างดี 

ความรู้สึกตอนเล่นคือหัวจะปั่นอยู่ตลอดเวลาว่าจะทำ Action อะไรดี อะไรก่อนอะไรหลังเนื่องจากคนอื่นสามารถมาแย่ง Action ที่เราเล็งอยู่ได้ดังนั้น Prioritization สำคัญมากๆ นอกจากนี้ยังมีอารมณ์ชิบหายแล้วสงสัยข้าวจะไม่พอมาป้อนคน ทำไงดี_ะเนี่ย สงสัยต้องเชือดแกะ ว่าจะเก็บไว้ให้ออกลูกซักหน่อย หรือ แม่_เอ้ย กินดินเหนียวไปก่อนแล้วกันว่าจะเอาไว้สร้างห้องเพิ่มซะหน่อย ว้าตอนนั้นน่าจะกั้นรั้วอีกแบบนึง ว้าน่าจะพรวนดินก่อน จะเกิดลูกดีมั้ยน้ากลัวหาข้าวให้มันไม่พอ ... etc.

นั่นคือความรู้สึกที่ได้จาก Base Game ครับ ยังไม่มีการ์ด minor improvement และ occupation มาเกี่ยวเลย

Play with Cards

แน่นอนผมเริ่มจาก E-Deck พอแกะการ์ดออกมารู้สึกได้ว่าการ์ดสวยดีชอบ Artwork แต่ไม่ชอบพื้นเหลืองซักเท่าไหร่ น่าจะทำการ์ด minor improvement กับ occupation ให้สีพื้นมันต่างกันกว่านี้หน่อย

ความรู้สึกเหมือนตอนเล่น Family แต่เพิ่มความมันส์ และความหลากหลายด้วยความสามารถของ minor improvement และ occupation นับร้อย ทำให้เกิดคอมโบทำฟาร์ม และแต่ละเกม unique เนื่องจากหน้าไพ่ที่ขึ้นมือต่างกัน

ครั้งแรกที่เล่นถึงกับมึนเนื่องจากมีการ์ดในมือ 14 ใบใช้ไม่ถูกเนื่องจากไม่รู้จะใช้ตอนไหนดี ยิ่งใช้ฟาร์มยิ่งเละเทะ อย่างไรก็ตามระหว่างที่เล่นจนกระทั่งเล่นจบความคิดที่ดังที่สุดในหัวคือ “แม่_เอ้ยคุ้มสั_ๆ น่าจะซื้อมาตั้งนานแล้ว นี่ขนาดเล่นแค่ E-Deck 2  คนนะเนี่ย แล้วแบบ 3-4-5 อีกล่ะ ไหนจะ I & K Deck อีก โอย คุ้มจริงๆ สงสัยเกมนี้จะเล่นได้ทั้งปีมั้งเนี่ย” แต่ใจนึงก็กลัวเล็กๆว่า I&K มันจะสนุกรึป่าวหว่า หรือ ว่ามันมีมางั้นๆให้เป็นปริมาณเยอะ แต่ไม่มีคุณภาพ

หลังจากได้ลองเล่น I-Deck บอกได้คำเดียวว่ามันไม่ได้ให้มาแต่ปริมาณ คุณภาพมันมาด้วย






วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

How to play : บอร์ดเกม Ora et Labor



Quick Info

Designer : Uwe Rosenberg
Player : 1 - 4
Play Time : 120 นาที



หลังจาก Uwe ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามกับ Agricola และ Le Havre แล้วก็ค่อนข้างนำพาความผิดหวังให้กับแฟนๆ ด้วยเกมอย่าง At the Gates of Loyang และ Merkator รอบนี้ Ora & Labora เป็นเกมเกี่ยวกับนักบวชที่พยายามสร้างความมั่งคั่งในยุคกลาง ผลตอบรับจะเป็นยังไงอีกไม่นานคงได้รู้กัน

Components



นี่เป็นส่วนที่น่าผิดหวังที่สุดของเกมนี้ เพราะว่าคุณภาพของ Component นั้นต่างชั้นกับ Agricola และ Le Havre เหลือเกิน ราวกับว่า Publisher ต้องการทำกำไรสูงๆเนื่องจากเกมขายได้ด้วยชื่อของ Designer อยู่แล้ว อย่างไรก็แล้วแต่ Component ระดับนี้ไม่ได้ทำให้อรรถรสของการเล่นเกมเสียไป แค่ผิดหวังตอนเปิดกล่องเท่านั้น



เริ่มกันที่ Component  ที่เป็นจุดขายในเกมนี้คือจานหมุนสำหรับเติมของ คุณภาพของจานทำด้วยกระดาษเนื้อหนาคุณภาพดี ทนทาน ตัวจานเอาไว้ใช้นับว่า resource แต่ละชนิดในขณะนี้มีจำนวนเท่าไหร่ โดยผู้เล่นไม่จำเป็นต้องเติมของแบบ manual แล้วแบบใน Agricola และ Le Havre ซึ่งทำให้การเล่นลื่นไหลมาก



การ์ดสิ่งก่อสร้างขนาดจิ๋ว (ขนาดประมาณการ์ดของ Through the Ages) เพราะการ์ดมีขนาดเล็กและผู้เล่นจำเป็นต้องมองการ์ดของผู้เล่นคนอื่นขณะเล่นด้วย ทำให้ตอนเล่นใหม่เกิดความลำบากในการ scan หาการ์ด แต่เมื่อเล่นไปซักพักจะเริ่มชิน และไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่ เนื่องจากเราามารถถามได้ความใครมีอะไรบ้าง อีกทั้งมี player aid ที่บอกว่ามีการ์ดอะไรแล้วเอาไว้ทำอะไรบ้าง  เกมนี้เป็นเกมที่ค่อนข้างใช้พื้นที่เยอะในการเล่น เข้าใจว่าถ้าการ์ดทำออกมาใหญ่จะทำให้กินพื้นที่จนเกินไป



Token ไม้ทำออกมาได้ดีสีสวยงาม



Token Resource ใครเคยเล่นหรือรู้จัก Le Havre เกมนี้ Token แบบเดียวกันเลย เปลี่ยนรุป คุณภาพคงเดิมหรือหนากว่านิดหน่อย แต่ความรู้สึกผมคือ จำนวนมันเยอะมากๆ Resource มีทั้งหมด 22 ชนิด  !!!



และก็มาถึงสิ่งที่คนบ่นกันเยอะๆ คือบอร์ดที่ดินของผู้เล่น ทำออกมาบางมาก ต่างกับบอร์ดของผู้เล่น Agricola อย่างสิ้นเชิง แถมตอนเปิดกล่องมาหลายคนเจอว่าบอร์ดมันงอๆมาเรียบร้อย แต่แก้ได้โดยการเอาอะไรหนักๆไปทับ



Player Aid เนื้อหาทำได้ดีมากๆครับ แต่คุณภาพทำให้แย่มาก กระดาษบางมาก อ่อนกว่ากระดาษหนังสือพิมพ์อีกมั้ง ในรูปนี้เค้าทำการตัดแล้วก็เคลือบเรียบร้อย ซึ่งถ้าจะเก็บเกมนี้ไว้เล่นยาวๆ ยังไงก็ต้องเคลือบ

ในส่วนของ Rule Book ในความคิดของผมถือว่าทำออกมาได้น่ารำคาญมาก คือ แบ่งเป็นหลายๆ เล่ม มีเล่มนึงเป็น reference สิ่งก่อสร้าง เล่มนึงเป็นการเล่า Rule คร่าวๆ เล่มนึงเป็นการเขียน Rule แบบละเอียดๆ ผมชอบที่มาเป็นแบบเล่นเดียวกันมากกว่าแทนที่จะอ่านรอบเดียวกลายเป็นว่าต้องอ่านซ้ำไป ซ้ำมา

Mechanics

เกมนี้เป็นเกม Resource Management เหมือน Le Havre คือ เราทำการเก็บ Resource แล้วเข้าไปใช้ความสามารถของสิ่งก่อสร้างเปลี่ยน Resource ไปมา เพื่อทำให้คุณค่าของ Resource เพิ่มขึ้น แต่ความต่างของเกมนี้และ Le Havre คือ เกมนี้เราวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งของสิ่งก่อสร้าง และ จำนวนของ Worker ไอ้เพิ่มจาก 1 ตัวเป็น 3 ตัว

เมื่อมาถึง Turn ของเราผู้เล่นเลือกทำ 1 ใน 3 อย่างระหว่าง

1.) ตัดไม้ หรือ ตัด peat (เหมือน Agricola FoM)
2.) สร้างสิ่งก่อสร้าง 1 อย่าง
3.) เอา Worker ไปทำงานในสิ่งก่อสร้างของตนเอง หรือ จ้าง worker ของ คนอื่นไปทำงานในสิ่งก่อสร้างของคนคนนั้น

นอกจากนั้นผู้เล่นสามารถทำ action แถมได้ดังนี้

-แลกเหรียญจากใหญ่ไปเล็ก เช่นแลก 1 เหรียญ 5 อันเป็น เหรียญ 5 1 อัน
-ซื้อที่เพิ่ม 1 แปลง
-เปลี่ยนรวงข้าวเป็น Straw 


เมื่อเล่นเกมไปซักพักนึงจะมี phase พิเศษขึ้นมาคือเฟสการสร้าง Settlement ซึ่ง Settlement เปรียบเสมือนความน่าอยู่ของชุมชนเล็กๆ ในพื้นที่ของเรา ถ้าเราสร้างสิ่งก่อสร้างที่มันเข้ากันแต้มตรงนี้ก็จะเยอะ

เมื่อจบเกมจะ  Score 3  อย่างคือ
คะแนนสำหรับ Resource + คะแนนสำหรับสิ่งก่อสร้าง + คะแนน Dwelling Value 


ความรู้สึกขณะเล่น

เมื่อมองผ่านเกมนี้เหมือน Le Havre แต่พอได้เล่นแล้วความรู้สึกต่างกันชัดเจน จริงอยู่การ Convert Resource นั้นทำเหมือนกับ Le Havre แต่มันมีอะไรที่มากกว่านั้น เป็นความรู้สึกแบบคิดเยอะ แต่ไม่กดดัน

การที่มี Worker ถึง 3 ตัว แล้วเราสามารถจ้างให้ผู้เล่นคนอื่นใช้ Worker ให้เราได้นั้นทำให้เกิด Interaction ที่ไม่เหมือนกับ Le Havre เนื่องจาก Worker เมื่อใช้ครบสามตัวแล้ว มันจะบังคับให้ออกมาจากตึก ดังนั้น มันจะไม่สามารถกั๊กตึกค้างได้แบบจงใจเหมือน Le Havre นอกจากนี้มันยังมีกฏทำให้ผู้เล่นสามารถทำ combo ได้คือ ถ้าเราสร้างสิ่งก่อสร้าง และ woker ตัวที่เป็นพี่ใหญ่ (prior) ยังว่างอยู่ เราสามารถเลือก worker ตัวนั้นมาทำ effect ได้ทันที

อีกทั้งใน Le Havre การสร้างสิ่งก่อสร้างคือการแลก Resource มาเป็นแต้ม แต่ใน Ora & Labora นั้น การ์ดสิ่งก่อสร้างเราต้องนำมาวางบนพื้นที่ของเรา ซึ่ง สิ่งก่อสร้างแต่ละอย่างมีข้อบังคับในการสร้างที่ไม่เหมือนกัน บางอย่างสร้างบนเขาได้อย่างเดียว บางอย่างต้องสร้างติดน้ำ สิ่งก่อสร้างบางชนิดต้องสร้างติดกันเท่านั้น อีกทั้งเรายังต้องคิดเกี่ยวกับความน่าอยู่ของชุมชนอีก (Dwelling Value) เช่นถ้าเราสร้างโรงฆ่าสัตว์ใกล้กับ Settlement จะทำให้แต้มติดลบ 

นอกจากนั้นพื้นที่ที่เริ่มเกมมีมาให้แต่ละคนจะไม่พอสำหรับการสร้างสิ่งก่อสร้าง เราจำเป็นจะต้องซื้อที่ดินผืนใหม่ ซึ่งราคาก็จะแพงขึ้นไปเรื่อยๆ ที่ดินก็จะมีให้เลือกอีกว่าจะเอาที่แบบไหน เอาแบบมีป่ามามั้ย ถ้าเอาป่ามา ก็จะมีไม้ให้ตัด แต่ต้องเสีย action ในการตัดไม้ สิ่งเหล่านี้ทำให้กระบวนการคิดมันแตกต่างกับ Le Havre อยู่พอสมควร

สำหรับแฟนๆของ Agricola ก็จะพบกับความคุ้นเคยบางอย่างเช่น Artwork และ  Resource ที่ใช้สร้างของ ซึ่งก็คือ ไม้ อิฐ หิน และ Straw (แทน Reed) Resource  นอกจากนี้มักไม่ได้ใช้เพื่อสร้างสิ่งก่อสร้างแต่ใช้ในการ convert เอาแต้ม

ที่สำคัญเกมนี้ไม่ต้อง Feed คนของเราแล้ว ไชโย !!!!!  :egg014:  ความกดดันจะลดน้อยลงไปอีก ทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นได้แบบเพลินๆ แล้วไปรู้ตัวอีกทีว่าแพ้ตอนหลัง  :egg006:

ส่วนตัวคิดว่า theme ของ Le Havre แข็งแรงกว่าเนื่องจากเป็นยุคที่เราอยู่ เราเข้าใจได้เช่น เก็บปลา เอาปลาไปปิ้ง แต่ใน Ora & Labora ชื่อสิ่งก่อสร้างเราจะไม่ค่อยคุ้นกันเท่าไหร่ ทำให้เราไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมสิ่งก่อนสร้างเหล่านี้ ทำ Function อย่างที่มันทำอยู่เช่น Sciptorium, Refectory ซึ่งผมคิดว่าคงมีไม่กี่คนที่รู้คำแปล อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้ทำให้ความสนุกลดลงไปเท่าไหร่ แค่ Theme มันไม่ค่อยคุ้นเฉยๆ

Summary

Pros

  • Artwork สวยงามสำหรับคนชอบ Agricola
  • ไม่ต้องเติมของแบบ Manual
  • เกมที่มีทางเลือกเยอะมากๆ ส่วนตัวคิดว่าลึกและเยอะกว่า Le Havre มาก
  • เล่นแล้วไม่ต้องเครียดหาข้าวอีกต่อไป
  • No Random จากการ Set Up นั่นหมายความว่าเป็นเกมวางแผนโดยแท้จริง
  • การเล่นเข้าใจง่าย
  • เล่นคนเดียวได้
  • มีการเล่น 2  แบบคือแบบ Ireland และแบบ France ทั้งสองแบบต่างกันที่สิ่งก่อนสร้างและจำนวน Resource แต่วิธีการเล่นเหมือนกัน
  • รู้สึกว่าเล่นเร็ว แต่จริงๆเล่นนาน เหมือนเวลาผ่านไปเร็ว Down Time น้อยสำหรับวงผู้เล่นปกติ
  • Player Aid ทำได้ดีในแง่เนื้อหา
  • เกมสามารถเล่นซ้ำได้เรื่อยๆ แม้ว่าจะไม่มีการ Random ตอน Set Up เนื่องจากทางเลือกเยอะมากๆ


Cons

  • ใช้ที่เล่นค่อนข้างเยอะ
  • Component น่าจะทำได้ดีกว่านี้
  • การ์ดเล็กมองสิ่งก่อสร้างของคนอื่นยาก
  • ไม่มีอะไรแปลกใหม่เท่าไหร่
  • ไม่มีบอร์ดกลาง ทำให้ผู้เล่นดูยากว่าตอนนี้ใครทำอะไรไปเท่าไหร่แล้วแบบง่ายๆ


ปิดท้าย

Ora & Labora คือ 1 ใน 3 สุดยอดของ Uwe เกมสำหรับผม เป็นผู้สืบทอดที่คู่ควรของ  Agricola  และ Le Havre เป็นเกมที่เวลาเล่นแล้วรู้ได้ทันทีว่าใครเป็นคนคิดเกมเนื่องจากมี signature ของคุณ  Uwe ชัดเจนเหลือเกิน ทั้งความรู้สึกท่วมท้นของทางเลือก ความพอดีในการตัดจบเกมตอนผู้เล่นกำลัง Peak กับ Engine ของตัวเอง และ การที่ผู้เล่นต้องประเมินตลอดเวลาว่า Resource อะไรที่ตอนนี้มีค่ามากที่สุดสำหรับตัวเอง 

ตัวเกมอาจจะไม่มีอะไรแปลกใหม่เท่าไหร่ แต่ได้ทำการพัฒนาและปรับปรุง เกม resource management ไปขึ้นอีกระดับหนึ่ง ทำได้ลงตัวมากๆ ใครมาสาย Euro จริงๆ คิดว่าน่าจะชอบกัน  :onion_071: :onion_071: :onion_071:








วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

How to play : บอร์ดเกม Tobago

Tobago : ล่าขุมทรัพย์สุดปลายฟ้า


 ใน Tobago คุณคือนักล่าขุมทรัพย์ที่จะต้องพารถคู่ใจท่องไปในเกาะแห่ง Tobago เพื่อตะเวนหาสมบัติที่ซุกซ่อนอยู่ทั่วทั้งเกาะ ในระหว่างเล่นคุณจะต้องเลือกระหว่างเคลื่อนย้ายรถไปที่ต่างๆเพื่อเก็บสมบัติที่คนอื่นทำลายแทงเอาไว้ หรือช่วยผู้ล่าสมบัติคนอื่นด้วยการศึกษาลายแทงขุมทรัพย์เพื่อช่วยให้คนอื่นระบุที่ตั่งที่แท้จริงของสมบัติได้ง่ายขึ้นแล้วนอนรอรับส่วนแบ่ง หรือจะทำทั้งสองอย่างแล้วแต่สถานะการจะพาไปก็ได้ทั้งนั้น

อะไรทำให้เกมนี้น่าสนใจ? 
     ตัวเกมเป็นเกมแนว ยูโร แบบ เบาๆ-กลางๆ ที่เหมาะสำหรับครอบครัวรวมไปถึงกลุ่มที่ผสมระหว่าง gammer และ non-gammer ครับ สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกมนี้น่าสนใจคือ component ที่ทำออกมาดีและเข้ากับ theme เกมมากๆไม่ว่าจะเป็นตัวรถ ,กระท่อม , ต้นไม้ แล้วก็ตัวรูปปั้นหินที่พอเอามาวางด้วยกันในเกมแล้วทำให้ตัวบอร์ดดูดีมากๆ 

    อีกสิ่งที่ทำให้เกมนี้น่าสนใจและผมคิดว่ามันดีมากคือระบบการเล่นที่แปลกกว่าเกมอื่นซึ่งก็คือระบบระบุต่ำแหน่งของสมบัติครับ โดยในตัวเกม สมบัติในเกมจะไม่ต่ำแหน่งแน่นอนหรือถูกกำหนดโดยตัวเกมแต่อย่างใด แต่คนที่จะบอกว่าสมบัติอยู่ตรงไหนนั้นกลับเป็นกลุ่มผู้เล่นที่เล่นด้วยกันนั้นเอง โดยเกิดจากการลงการ์ด Clue ที่จะค่อยๆระบุต่ำแหน่งของสมบัติไปเรื่อยๆ อย่างเช่น (A)ลงการ์ดว่ามันต้องอยู่ในป่า (B)ลงการ์ดต่อว่าอยู่ติดกับภูเขา ก็หมายความว่าสมบัติจะต้องอยู่ในช่องที่เป็นป่าแล้วป่านั้นก็จะต้องติดกับช่องภูเขานั้นเองครับ พอเมื่อช่วยกันวาง clue จนเหลือเพียงแค่ช่องเดียวเท่านั้นที่สมบัติจะสามารถอยู่ได้ผู้เล่นทีนำรถไปเก็บสมบัติและผู้เล่นทุกคนที่ช่วยกันลงการ์ด Clue ก็จะได้ส่วนแบ่งตามจำนวนการ์ดที่ลงไป แต่ว่าได้ส่วนแบ่งก็ใช่ว่าจะเท่ากันนะ เพราะว่าสมบัติแต่ล่ะใบมีมากน้อยไม่เท่ากัน แถมบางใบยังมีคำสาบทำให้สมบัติหายไปทั้งหมดถ้าไม่มี Amulet มาป้องกันอีกต่างหาก และสุดท้ายที่ทำให้เกมนี้น่าสนใจคือรายชื่อรางวัลยาวเหยียดก็เป็นเครื่องการันตีความสนุกได้ในระดับนึงเลยล่ะ 

(อีกเรื่องที่ทำให้เกมนี้น่าสนใจสำหรับผมคือ Designer เป็น Programmer เหมือนกะผมล่ะ 555+  เล่นเกมนี้ครั้งแรกก็คิดเลยว่าระบบมันเหมือนกับทำ Advance Search ยังไงไม่รู้ :P)

*ถ้าสนใจเกมนี้แต่ยังไม่อยากอ่านกฎลองข้ามไปดูบทสรุปด้านท้ายก่อนก็ได้ครับ :)

   


มาเริ่ม setup เกมกันก่อน
     ตัวบอร์ดของเกมนี้จะแบ่งเป็น 3 ชิ้นมีหน้าหลังครับจะสุ่มสลับด้านอย่างไรก็ได้จากนั้นเอาตัวล๊อกมาติดไว้กันบอร์ดขยับ จากนั้นให้สุ่มวางกระท่อม ต้นไม้ แล้วก็รูปปั้นให้ทั่วๆเกาะโดยของชนิดเดียวกันต้องห่างกันอย่างน้อย 4 ช่องครับ ส่วนการ์ดสมบัติที่จะเป็นคะแนนและของที่เราต้องขุดคั้นนั้นให้เอาอันที่เป็นหัวกะโหลกออกมากก่อนจากนั้นสุ่มออกมา 12 ใบ จากนั้นสับเอาการ์ดหัวกะโหลกกลับไปไว้ในกองที่เหลือจากนั้นเอา 12 ใบที่เราแยกออกมาวางทับไปข้างบน (หมายความว่าในการแจกสมบัติช่วงแรกๆจะไม่มีการ์ดหัวกะโหลกออกมานั้นเอง) เสร็จแล้วก็เอากองการ์ดสมบัติกับ Amulet วางไว้ตรงตัวล๊อก 
     ส่วนตัวรถ ATV ก็ให้ผู้เล่นแต่ละคนวางไว้ตรงไหนในบอร์ดก็ได้ครับ (ในน้ำก็ได้นะรถมันเทพ :D ) จากนั้นให้เปิดการ์ด Clue ออกมา 4 ใบวางไว้ ทั้ง 4 อันนี้ก็คือเบาะแสแรกของสมบัติทั้ง 4 ชิ้นในเกาะ Tobago นั้นเองครับโดยแต่ล่ะใบให้เราวาง cube เบาะแสทั้ง 4 สีวางแยกไว้ด้วยเพื่อที่จะได้รู้ว่าการ์ดไหนเป็นเบาะแสของสมบัติสีอะไรครับ ขั้นตอนสุดท้ายคือแจกการ์ด Clue ให้ผู้เล่นคนล่ะ 4 ใบเท่านี้ก็พร้อมจะไปลุยหาสมบัติกันแล้วล่ะ (คนล่ะ 6 ใบ ถ้าเล่นสองคน)

เอาล่ะมาล่าสมบัติกันดีกว่า: 
**เป็นวิธีการเล่นคร่าวๆที่ครอบคลุมพอสมควร แต่ว่าไม่ได้อธิบายกฎเล็กๆน้อยๆหลายจุด ไม่แนะนำให้ใช้ในการอ้างอิงเวลาเล่น และควรอ่านกติกาเล่นเองทุกครั้งนะครับ**

     อย่างที่บอกไปตอนต้นนะครับ ในแต่ล่ะรอบของการเล่นผู้เล่นจะต้องเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปแล้วแล้วผ่านให้ผู้เล่นคนต่อไปครับ Action ทีมีให้เลือกคือ ลงการ์ดClueเพื่อจำกัดที่ตั้งของสมบัติ หรือเลือกที่จะขยับรถ ATV ครับ

A) ลงการ์ด Clue : ส่วนนี้ถือเป็นหัวใจหลักของเกมนี้เลยทีเดียว ผู้เล่นจะต้องลงการ์ด Clue 1 ใบจากมือไปต่อท้ายแถวการ์ด Clue ใบอื่นๆในสีของสมบัติที่ต้องการ เมื่อวางแล้วก็ให้เอา token เข็มทิศสีของเราวางไว้บนการ์ดเพื่อบอกว่าการ์ดใบนี้เราเป็นคนลงครับ โดยการลงการ์ดมีข้อห้ามอยู่เพียงอย่างเดียวคือเมื่อวางแล้วตำแหน่งที่ตั้งที่สมบัติน่าจะอยู่จะต้องลดน้อยลงกว่าเดิม  ถ้าลงการ์ดไปมากๆแล้วเหลือแค่ไม่กี่ที่ ที่สมบัติน่าจะวางได้ก็ให้เราเอา cube สีสมบัตินั้นวางไว้บนบอร์ดเพื่อที่จะได้ดูง่ายขึ้นว่าเหลือที่ตรงไหนให้ตัดตัวเลือกได้อีกบ้าง

ส่วนสัญลักษ์บนการ์ดจะมีอยู่ 8 รูปแบบดังนี้ครับ

อยู่ในพื้นที่ (x) ที่ใหญ่ที่สุด: พึ่นที่ๆใหญ่ที่สุดให้นับตามจำนวนช่องครับถ้ามากกว่าก็ให้เป็นมากที่สุดไป อย่างเช่นการ์ดรูปป่าที่ใหญ่ที่สุด ถ้ามีป่าขนาด 5 ช่อง , 3 ช่อง , 6 ช่อง ก็ให้ถือว่าป่าที่มีขนาด 6 ช่องเป็นบริเวณที่จะมีสัมบัติอยู่ครับ

ไม่อยู่ในพื้นที่ (x) ที่ใหญ่ที่สุด: สลับกับด้านบนครับสมบัติอยู่ที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่ป่าที่ใหญ่ที่สุด ในอีกความหมายคืออาจจะอยู่ในป่าขนาดเล็กๆก็ได้

อยู่ในพื้นที่ (x):  ตรงตามความหมายครับ โดยถ้าวางการ์ด "อยู่ในพื้นที่ (y)"เราสามารถวางการ์ด"อยู่ในพื้นที่(y)ที่้ใหญ่ที่สุด"ต่อได้เพราะว่าเป็นการระบุให้ชัดขึ้น แต่ไม่สามารถวางสลับกันเป็น "อยู่ในพื้นที่(y)ที่้ใหญ่ที่สุด" แล้วตามด้วย "อยู่ในพื้นที่(y)" ได้ เพราะว่ามันไม่ได้ช่วยลดความต่ำแหน่งที่สมบัติน่าจะอยู่ลงนั้นเองครับ

ไม่อยู่ในพื้นที่ (x):  ตรงตามความหมายครับ แต่ตรงนี้ถ้าสังเกตุจะพบว่าถ้าเราวางการ์ด "ไม่อยู่ในพื้นที่ (y)" ไปแล้ว เราจะไม่สามารถวางการ์ด"ไม่อยู่ในพื้นที่ (y) ที่ใหญ่ที่สุด"ต่อในแถวนั้นได้อีก เพราะว่าการ์ดอันแรกได้ระบุครอบคลุมไปแล้วว่าพื้นที่ (y) ทั้งหมดไม่มีสมบัติอยู่

อยู่ติดกับพื้นที่ (x): พื้นที่อาจจะเป็นกระท่อม,ต้นไม้ หรือรูปปั้นได้ด้วย โดยจะมีสัญลักษ์เป็นรูปหกเหลี่ยม 1 อันอยู่ข้างๆพื้นที่ครับ อันนี้จะต่างกับอันข้่างบนตรงเราสนแต่พื้นที่รอบๆของ พื้นที่ที่ระบุในการ์ดครับ

ไม่อยู่ติดกับพื้นที่ (x):  พื้นที่อาจจะเป็นกระท่อม,ต้นไม้ หรือรูปปั้นได้ด้วย โดยจะมีสัญลักษ์เป็นรูปหกเหลี่ยม 1 อันพร้อมกากบาท หมายความว่าพื้นที่รอบๆนั้นจะไม่มีสมบัติอยู่  ในกรณีต้นไม้ กระท่อม รูปปั้น ตรงต่ำแหน่งพวกนั้นยังถือว่าสามารถมีสมบัติวางไว้ได้อยู่นะ แค่รอบๆไม่มี

อยู่ในระยะสองช่องของพื้นที่ (x): จะคล้ายกับอันด้านบนครับ แต่ว่าเพิ่มระยะเป็น 2 ช่องโดยวิธีการนับให้นับช่องที่ติดกับพื้นที่นั้นเป็น 1 แล้วช่องถัดไปเป็นช่องที่ 2 ซึ่งถ้าวาดออกมาเป็นรูปก็จะออกมาเป็นรูป 6 เหลี่ยมใหญ่ที่มีขนาดด้านล่ะ 3 ช่องล่ะ

ไม่อยู่ในระยะสองช่องของพื้นที่ (x): เหมือนกับข้างบนแต่ว่าเป็นไม่มีครับ

พอลงการ์ดแล้วก็ให้จั่วให้ครบ 4 ใบตามเดิม ถ้าการ์ดไม่พอก็ให้เอาการ์ดที่ทิ้งแล้วมาสับทำกองจั่วใหม่

อ่านแล้วอย่าพึ่งตาลายนะครับ  :egg023: :egg023: เพราะจริงๆแล้วถ้าเห็นรูปการ์ดแล้วจะรู้ว่ามันดูแล้วเข้าใจง่ายมากๆเลยครับ พอมาเป็นตัวหนังสือเลยดูงงๆ ส่วนกรณีตัวอย่างที่่อาจจะดูแล้วงงๆถ้าได้เล่นเองก็จะเข้าใจได้เองแน่นอนครับเพราะเป็นเรื่องที่ common sense พอควรเลย







B)ขยับรถ ATV : การขยับรถในเกมก็เพื่อพาตัวเองไปเก็บสมบัติหรือ Amulet ครับโดยการขยับรถนั้นจะทำได้ 3 ครั้งโดยการขยับข้ามไปยังพื้นที่ต่างชนิดกับที่เราอยู่นับ 1 และเคลื่อนที่ในพื้นที่ชนิดที่เราอยู่ก็นับ 1 ครับ โดยการเคลื่อนที่ทั้งหมดจะหมดทั้นที่ที่เดินไปยังที่ๆสมบัติวางอยู่ (ที่ๆสามารถวาง cube ได้เพียงอันเดียวของสีนั้นๆ) และหากเราเป็นคนเก็บสมบัติก็ให้วาง token เข็มทิศของเราไว้ด้านท้ายสุดของแถวสมบัติด้วย 1 อัน


อ่ะลงทุนลงแรงไปเยอะล่ะก็ได้เวลาแบ่งสมบัติล่ะนะ
เมื่อรถ ATV ได้เดินไปอยู่ที่ๆสมบัติวางอยู่(ที่ที่เดียวที่จะสามารถวาง cube สีนั้นได้) ให้เจ้าของเทริ์นวาง token เข็มทิศสีของตัวเองไปไว้ด้านท้ายสุดของแถวการ์ด clue ของสมบัติสีนั้น แล้วก็จะเข้าสู่ Phase แบ่งสมบัติครับโดยมีวิธีการตามนี้
1) แจกการ์ดสมบัติให้ผู้เล่นทุกคนที่มี token เข็มทิศอยู่ในแถวโดยแจกให้ตามจำนวน token ทีมี ช่วยวางมากก็ได้มาก ช่วยวางน้อยก็ได้น้อยไปตามส่วน อย่าลืมว่าคนที่เป็นคนขุดสมบัติก็มีส่วนแบ่งเพิ่มด้วย 1 ใบเป็นค่าน้ำมันรถ
2) หลังจากทุกคนดูการ์ดสมบัติแล้วให้ส่งคืนมารวมกันไว้เป็น 1 กอง (ห้ามบอกคนอื่นนะว่ามีอะไรบ้าง) จากนั้นจั่วสมบัติใส่เพิ่มไปอีก 1 ใบแล้วสลับกองได้เลย
3) การแจกจะเริ่มจากการเปิดใบบนสุดของกองมาจากนั้นให้ไล่จากท้ายแถวไปยังต้นแถว โดยถามผู้่เล่นที่มี token สีนั้นๆว่าต้องการการ์ดใบนี้ไหม? ถ้าเอาก็รับการ์ดไป (แต่อย่าพึ่งเอาไปรวมกับกองสมบัติที่มีนะ) แล้วให้เอา token ออกจากแถวแล้วเปิดการ์ดใบใหม่แล้วถามคนต้นแถวต่อไป  ถ้าไม่รับเราก็จะใช้การ์ดใบเดิมไล่ถามคนถัดๆไปในแถว ถ้าคนสุดท้ายไม่เอาก็ให้ทิ้งการ์ดนั้นไปจั่วใบใหม่แล้วถามต้นแถวทำจนหมดหรือว่าทำจนเจอการ์ดหัวกะโหลก
4) ถ้ามีการ์ดหัวกะโหลกให้หยุดการแจกการ์ดสมบัติทันที และผู้เล่นที่ยังมี token เข็มทิศเหลืออยู่ในแถวจะต้องเลือกว่าจะสละ Amulet 1 อันเพื่อเก็บสมบัติไว้หรือไม่ ถ้าไม่มีหรือเลือกที่จะไม่เสียก็ต้องทิ้งสมบัติที่มีทั้งหมดไป
5) เมื่อเรียบร้อยให้ผู้เล่นคนสุดท้ายที่ได้รับการ์ดสมบัตินำการ์ด Clue ในมือไปวางเพื่อเปิดลายทางสมบัติชิ้นใหม่ โดยต้องว่าง token เข็มทิศตามปกติ (ทั้งเกมจะมีสมบัติให้ขุดค้น 4 ชิ้นตลอดเวลา)
6) ถ้าเปิดใบแรกมาเจอหัวกะโหลกเลยให้คนที่ขุดสมบัติเป็นคนเริ่มเปิด clue ใบใหม่

Amulet นี้มันดูท่าสำคํญนัก แล้วจะเอามาได้ยังไงล่ะ?:
     เมื่อมีการเก็บสมบัติแล้วรูปปั้นทั้ง 3 ก็จะปล่อย Amulet ออกไปทั่วเกาะครับโดยให้ดูว่ารูปปั้นแต่ล่ะตัวหันหน้าไปทางไหนก็ให้วาง amulet token ไว้ที่สุดปลายทางในทิศที่รูปปั้นหันไปครับ แต่ถ้าเกิดอยู่ติดทะเลและหันไปทางทิศนั้นพอดีหรือว่าที่ตรงนั้นมี amulet วางอยู่แล้วก็ไม่ต้องวางเพิ่มครับ โดยเมื่อทำครบ 3 ตัวแล้วก็ให้หมุนรูปปั้นทุกตัวตามเข็มนาฬิกาไป 1 ด้าน 

โดย Amulet มีความสามารถตามนี้ครับ

A) เอา cube บนกระดานออกได้ 1 อัน: ในช่วงท้ายๆของการวาง clue ของสมบัติสีต่างๆพอเราเริ่มวาง cube เพื่อระบุต่ำแหน่งที่เหลือแล้วเราสามารถทิ้ง amulet เพื่อเอา cube ออกได้ 1 อัน

B) เพิ่ม move ใน AVT : ทำให้ AVT ขยับเพิ่มได้อีก  1 - 3 ครั้งต่อการทิ้่ง amulet 1 อันโดยเราไม่สามารถเก็บ amulet เพิ่มได้ในระหว่างที่กำลังวิ่งโดยใช้พลัง Amulet อยู่

C) ป้องกันคำสาบ : ใช้ตอนเจอการ์ดหัวกะโหลกตอนแจกสมบัติ

D) เปลี่ยนการ์ด Clue ในมือทั้งหมด: ทิ้ง amulet เพื่อเปลี่ยนการ์ด Clue ในมือทั้งหมด 

Amulet ที่ถูกทิ้งไปให้เอากลับไปวางไว้ที่กองกลาง



สมบัติหมดเราก็กลับบ้านไปนอนนับตังสิ
     เกมนี้จะจบลงเมื่อการ์ดสมบัติหมดกอง โดยถ้ายังมีคนที่ไม่ได้รับการ์ดอยู่เมื่อหมดกองก็ให้สับการ์ดที่ทุกทิ้งไปมาแจกให้ครบครับ (ไม่ต้องเอาหัวกะโหลกมานะ) จากนั้นคนที่มีจำนวนเหรียญมากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะ




วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

How to play : บอร์ดเกม The Settler of Catan

The Settler of Catan ได้รับการการันตีความสนุกมาแล้วจากรางวัลเกมส์ยอดเยี่ยมมากมายทั่วโลก เป็นบอร์ดเกมส์สร้างเมืองที่สนุกที่สุดนับตั้งแต่ปี 1995 ชื่อเกมส์แปลเป็นไทยว่า "นักบุกเบิกแห่ง Catan" สามารถเล่นได้ 2-4 คน แต่ถ้าจะให้สนุกแนะนำเป็น 3-4 คนจะดีที่สุด ผู้เล่นทุกคนจะต้องแข่งกันพัฒนาเมืองของตัวเอง เมื่อมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เกาะ Catan จากนั้นก็ต้องหาทรัพยากร เพื่อมาใช้ในการพัฒนาเมืองต่อไำป แต่ว่าทรัพยากรก็ไม่ได้มีมากมาย เพราะต้องแย่งกับผู้เล่นอื่นๆด้วย ดังนั้นต้องพึ่ง "ดวงชะตา" และฝีมือในการคิดวิเคราะห์ว่า แต่ละ Turn นั้นควรจะทำอย่างไรดี เพราะนอกจากการหาทรัพยากรแล้ว เรายังต้องใช้ "การค้าขาย" ในการต่อสู้ด้านธุรกิจกับผู้เล่นคนอื่นๆด้วย ซึ่งเป็นบอร์ดเกมส์แข่งขันกันแบบไม่ต้องต่อสู้เสียเลือดเนื้อ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Catan ได้รับการยกย่องว่าเป็นเกมส์ที่ดี สุดท้ายเมืองของผู้เล่นคนไหน พัฒนาได้ถึงระดับ 10 ได้ก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะ
… The Settlers of Catan บอร์ดเกมประเภท Strategy Games แนวสร้างเมือง ที่พัฒนาขึ้นจากประเทศเยอรมันนี ออกแบบโดย Klaus Teuber ออกวางจำหน่ายเมื่อปี 1995 ด้วยรูปแบบการเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และกวาดรางวัลบอร์ดเกมยอดเยี่ยมหลายแห่ง โดยเฉพาะรางวัลบอร์ดเกมยอดเยี่ยมจากเยอรมันนี “Spiel des Jahres” จึงทำให้บอร์ดเกมนี้ได้รับความนิยมทั่วโลกและได้ถูกขึ้นเป็นเกมในตำนานอย่างรวดเร็ว
….. ด้วยรูปแบบการเล่นที่ต้องใช้ผู้เล่นมากกว่า 3 คนขึ้นไป (เช่นครอบครัวหรือเพื่อนสนิท) ในการแข่งสร้างเมืองให้ได้ตามเป้าที่กำหนด ด้วยการถือครองทรัพยากรที่ “ชะตา” เป็นผู้กำหนด หากสามารถครอบครองที่ใดก็จะได้ทรัพยากรที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาเมืองได้อย่างรวดเร็ว และการจัดการคู่แข่งของเกมนี้ก็ไม่ได้จัดการแบบการทำสงครามเพื่อชิงทรัพยากร แต่เป็นการ “ทำการค้า” ด้วยการแลกเปลี่ยนทรัพยากรที่ต้องการได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยการวางแผนและมองการณ์ไกลที่สูงในระดับหนึ่ง

….. หัวใจสำคัญของการเล่นเกมนี้ก็คือ “ทรัพยากร” ที่คุณถือครองนั้นต้องการจะสร้าง “อนาคต” อะไรขึ้นมา และสรรหาทรัพยากรชนิดอื่นด้วยวิธีต่างๆ ที่เหมาะสมโดยไม่เน้นดวงมากจนเกินไป จึงเป็นเกมที่ผู้เล่นมีสิทธิ์ชนะได้หากรู้จักวางแผนและมองการณ์ไกล รวมไปถึงตัวเกมที่เล่นไม่ยากและไม่ได้เน้นรบราฆ่าฟันเพื่อชิงทรัพยากร แต่เน้นการสร้างมิตรเพื่อการแลกเปลี่ยนหรือใช้กลยุทธ์ต่างๆ ในการชิงทรัพยากรแบบไม่เสียเลือดเนื้อ จึงเป็นเกมที่ให้ความรู้สึกที่อบอุ่น และสร้างปฏิสัมพันธ์กับคู่แข่งอีกรูปแบบหนึ่งทีเดียว
….. เมื่อลองเซ็ตกระดาน จะได้เป็นลักษณะนี้

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

How to play : บอร์ดเกม Carcassonne

Carcassonne เป็นบอร์ดเกมที่เริ่มคิดขึ้นมาโดย Klaus Jurgen Wrede ชาวเยอรมันเมื่อปี ค.ศ. 2000 โดย Carcassonne เป็นชื่อเมืองในยุคกลางที่มีชื่อเสียงในเรื่องความแข็งแกร่งของกำแพงเมืองและป้อมปราการในประเทศฝรั่งเศสตอนใต้ โดยบอร์ดเกมนี้เป็นบอร์ดเกมที่เล่นโดยการต่อแผนที่และใช้ Meeple ยึดครองพื้นที่ให้ได้แต้มมากที่สุดจึงจะเป็นผู้ชนะไป ซึ่งเกมนี้มีภาคเสริมมาแล้วนับสิบภาคนับตั้งแต่เริ่มออกวางจำหน่าย



วิธีการเล่นบอร์ดเกม Carcassonne
ผู้เล่นจะต้องจัดเตรียมแ่ผ่นแผนที่จำนวน 72 แผ่น และตัวละครไม้ที่เรียกว่า Meeple ซึ่งเป็นผู้ติดตามให้ครบถ้วนตามจำนวนผู้เล่น ซึ่งเกมนี้สามารถเล่นได้ตั้งแต่ 2 – 5 คน จากนั้นจึงจะเริ่มเล่น โดยการวางแผ่นแผนที่ตัวเริ่ม ซึ่งจะมีสีด้านหลังแตกต่างจากแผนที่แผ่นอื่น ๆ ลงไป จากนั้นจึงตกลงกันว่าใครจะได้เป็นผู้เริ่มเล่นก่อน


ผู้เล่นตกลงวางตัวของ Meeple วางบนแผ่นนับคะแนน หรืออาจจะใช้สิ่งอื่น ๆ เื่พื่อบันทึกแต้มแทนก็ได้ จากนั้นผู้เล่นที่ได้เริ่มเล่นก่อนหยิบแผนที่ที่คว้ำหน้าหรืออยู่ในถุงแบบสุ่มทีละใบ หลังจากนั้นจึงเริ่มต่อแผนที่ โดยที่จะต้องต่อตามหลักการ ได้แก่ เมืองต่อกับเมือง กำแพงต่อกับกำแพง ที่นาต่อกับที่นา ทุ่งหญ้าต่อกับทุ่งหญ้า


หลังจากนั้นผู้เล่นจึงเลือกว่าจะวางบนแผ่นแผนที่แผ่นนั้นหรือไม่ ซึ่งสามารถวางตามตำแหน่งต่าง ๆ ได้แก่
  • อัศวิน (Knight) วางในเมือง
  • ชาวนา (Farmer) วางบนทุ่งหญ้า
  • โจร (Theif) วางบนถนน
  • พระ (Monk) วางบนโบสถ์
หากพบว่าพื้นที่นั้น ๆ ต่อกันแล้วสมบูรณ์เมื่อไหร่ เช่น เมืองสามารถล้อมรอบได้ ถนนต่อได้จนสุดทาง โบสถ์มีพื้นที่อื่นล้อมรอบจนครบ ให้นำ Meeple ออกจากเกมเพื่อนำไปใช้เล่นต่อไปและนับคะแนน โดยมีเกณฑ์นับคะแนนต่างกันระหว่างเกมดังต่อไปนี้
  • ถนน จะได้คะแนนจากเส้นทางแต่ละเส้น นับตามความยาวต่อเนื่องแผ่นละ 1 คะแนน
  • เมือง จะได้คะแนนจากแผ่นที่เป็นเมืองแต่ละแผ่นต่อเนื่องแผ่นละ 2 คะแนน และหากมีสัญลักษณ์โล่ห์ปรากฏจะได้อีกตราละ 2 คะแนน
  • โบสถ์ จะนับคะแนนจากแผ่นที่ล้อมรอบทั้งหมดแผ่นละ 1 คะแนน บวกด้วยคะแนนอีก 1 คะแนนเป็น 9 คะแนน
  • ทุ่งหญ้า จะยังไม่ถูกนับคะแนนระหว่างเกม


หาก Meeple ของฝ่ายตัวเ้องหมดจะไม่สามารถวางได้ และผู้เล่นไม่สามารถวาง Meeple ลงบนถนนหรือเมืองหรือทุ่งหญ้าได้ หากมี Meeple ของคนอื่นวางเพื่อเตรียมครอบครองพื้นที่อยู่ก่อนหน้านี้แล้ว ยกเว้นแผ่นดินต่าง ๆ มาเชื่อมกันโดยบังเอิญระหว่างการเล่นเกม


หลังจากนั้นฝ่ายตรงข้ามเล่นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งแผ่นแผนที่ถูกใช้ไปทั้งหมด จึงเริ่มนับคะแนนเพิ่มเติมตามที่ Meeple ของตนเองอยู่ดังต่อไปนี้
  • ถนน จะได้คะแนนจากเส้นทางแต่ละเส้น นับตามความยาวต่อเนื่องแผ่นละ 1 คะแนน
  • เมือง จะได้คะแนนจากแผ่นที่เป็นเมืองแต่ละแผ่นต่อเนื่องแผ่นละ 1 คะแนน และหากมีสัญลักษณ์โล่ห์ปรากฏจะได้อีกตราละ 1 คะแนน
  • โบสถ์ จะนับคะแนนจากแผ่นที่ล้อมรอบทั้งหมดแผ่นละ 1 คะแนน บวกด้วยคะแนนอีก 1 คะแนน
  • ทุ่งหญ้า จะนับจำนวนที่ Meeple ชาวนาอยู่ใกล้กับเมืองที่สมบูรณ์ 3 คะแนนต่อเมือง หากอยู่ใกล้มากเท่าไหร่จะได้คะแนนมากขึ้นเท่านั้น และหากมี Meeple อยู่มากกว่า 1 สีในทุ่งหญ้าผืนเดียวกัน Meeple ที่มีจำนวนมากกว่าจะได้คะแนนไปทั้งหมด และฝ่ายที่น้อยกว่าจะไม่ได้คะแนนอะไรเลย
ผู้เล่นคนใดได้คะแนนรวมสูงสุดจะเป็นผู้ชนะไป